วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

ผังงานโครงสร้าง


ผังงานโครงสร้าง  (Structured  Flowchart)

เครื่องมือที่ใช้แสดงขั้นตอนการทำงาน (Algorithm)ของระบบงานใดๆในงานคอมพิวเตอร์มีหลายอย่างและเครื่องมือที่นิยมใช้กันมากก็คือ ผังงานโครงสร้าง (Structured  Flowchart) และคำสั่งเทียม(Pseudo  Code)  ซึ่งเครื่องมือที่ใช้เหล่านี้ผู้พัฒนาระบบงาน  สามารถนำไปแปลงเป็นชุดคำสั่งตามรูปแบบไวยากรณ์(Syntax)ของภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดๆก็ได้เพื่อพัฒนาระบบงานขึ้นมา

ผังงานโครงสร้าง (Structured  Flowchart)

จะเป็นเครื่องมือ(Tools) ที่ใช้อธิบายรายละเอียดการทำงานตามขั้นตอนการทำงาน(Algorithm) โดยใช้ สัญลักษณ์(Symbol)แทนคำสั่ง ใช้ข้อความ(Statement)ในสัญลักษณ์แทนตัวแปรและตัวดำเนินการทางการคำนวณและการเปรียบเทียบ  อีกทั้งยังแสดงความสัมพันธ์ของการทำงานต่างๆอย่างเป็นลำดับขั้นตอนโดยสามารถแบ่งลักษณะของความสัมพันธ์เป็นรูปแบบต่างๆได้แก่  การทำงานแบบมีลำดับ  การทำงานแบบให้เลือกทำและการทำงานแบบทำซ้ำในเงื่อนไขต่างๆ  

ขั้นตอนการทำงานในผังงานโครงสร้าง   สามารถแบ่งได้เป็น  รูปแบบคือ


1.  การทำงานแบบเป็นลำดับ (Sequence  Process)   จะทำงานตามการเรียงลำดับก่อนหลัง






2.  การทำงานแบบเลือกทำ (Selection  Process) จะทำงานแบบให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง   เท่านั้น  สามารถพิจารณาได้  กรณี  คือ

                การทำงานแบบเลือกทำ  1 ทาง  คือ จะทำงานเฉพาะเงื่อนไขที่เป็นจริงเท่านั้น
     ขการทำงานแบบเลือกทำ 2 ทาง  คือ จะทำงานจากการพิจารณาเงื่อนไขที่เป็นจริงและเป็นเท็จโดยให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง






      คการทำงานแบบเลือกทำได้หลายทาง คือ จะทำงานจากการพิจารณาเงื่อนไขต่างๆที่มากกว่า  ทาง  โดยให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น


3.  การทำงานแบบทำซ้ำในขณะที่เงื่อนไขเป็นจริง (WHILE-DO  Process)  จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขของการทำงานก่อนการทำงานทุกครั้ง  และจะทำงานเฉพาะเมื่อเงื่อนไขที่เป็นจริงเท่านั้น




4.  การทำงานแบบทำซ้ำจนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง ( DO-UNTIL หรือ  REPEAT-UNTIL Process)  จะทำงานตามที่ระบุก่อนการตรวจสอบเงื่อนไขของการทำงานและจะทำงานจนกระทั่งเงื่อนไขของการทำงานเป็นจริง


5.  การทำงานแบบทำซ้ำตามจำนวนรอบที่ระบุ (FOR Process)  จะทำงานตามจำนวนรอบที่กำหนดโดยเริ่มจากรอบที่เริ่มต้นไปจนถึงรอบสุดท้าย  ตามปกติจะเพิ่มค่าของรอบไป 1 ค่า  เมื่อทำงานครบรอบหนึ่ง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น