วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

ผังงานโครงสร้าง


ผังงานโครงสร้าง  (Structured  Flowchart)

เครื่องมือที่ใช้แสดงขั้นตอนการทำงาน (Algorithm)ของระบบงานใดๆในงานคอมพิวเตอร์มีหลายอย่างและเครื่องมือที่นิยมใช้กันมากก็คือ ผังงานโครงสร้าง (Structured  Flowchart) และคำสั่งเทียม(Pseudo  Code)  ซึ่งเครื่องมือที่ใช้เหล่านี้ผู้พัฒนาระบบงาน  สามารถนำไปแปลงเป็นชุดคำสั่งตามรูปแบบไวยากรณ์(Syntax)ของภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดๆก็ได้เพื่อพัฒนาระบบงานขึ้นมา

ผังงานโครงสร้าง (Structured  Flowchart)

จะเป็นเครื่องมือ(Tools) ที่ใช้อธิบายรายละเอียดการทำงานตามขั้นตอนการทำงาน(Algorithm) โดยใช้ สัญลักษณ์(Symbol)แทนคำสั่ง ใช้ข้อความ(Statement)ในสัญลักษณ์แทนตัวแปรและตัวดำเนินการทางการคำนวณและการเปรียบเทียบ  อีกทั้งยังแสดงความสัมพันธ์ของการทำงานต่างๆอย่างเป็นลำดับขั้นตอนโดยสามารถแบ่งลักษณะของความสัมพันธ์เป็นรูปแบบต่างๆได้แก่  การทำงานแบบมีลำดับ  การทำงานแบบให้เลือกทำและการทำงานแบบทำซ้ำในเงื่อนไขต่างๆ  

ขั้นตอนการทำงานในผังงานโครงสร้าง   สามารถแบ่งได้เป็น  รูปแบบคือ


1.  การทำงานแบบเป็นลำดับ (Sequence  Process)   จะทำงานตามการเรียงลำดับก่อนหลัง






2.  การทำงานแบบเลือกทำ (Selection  Process) จะทำงานแบบให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง   เท่านั้น  สามารถพิจารณาได้  กรณี  คือ

                การทำงานแบบเลือกทำ  1 ทาง  คือ จะทำงานเฉพาะเงื่อนไขที่เป็นจริงเท่านั้น
     ขการทำงานแบบเลือกทำ 2 ทาง  คือ จะทำงานจากการพิจารณาเงื่อนไขที่เป็นจริงและเป็นเท็จโดยให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง






      คการทำงานแบบเลือกทำได้หลายทาง คือ จะทำงานจากการพิจารณาเงื่อนไขต่างๆที่มากกว่า  ทาง  โดยให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น


3.  การทำงานแบบทำซ้ำในขณะที่เงื่อนไขเป็นจริง (WHILE-DO  Process)  จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขของการทำงานก่อนการทำงานทุกครั้ง  และจะทำงานเฉพาะเมื่อเงื่อนไขที่เป็นจริงเท่านั้น




4.  การทำงานแบบทำซ้ำจนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง ( DO-UNTIL หรือ  REPEAT-UNTIL Process)  จะทำงานตามที่ระบุก่อนการตรวจสอบเงื่อนไขของการทำงานและจะทำงานจนกระทั่งเงื่อนไขของการทำงานเป็นจริง


5.  การทำงานแบบทำซ้ำตามจำนวนรอบที่ระบุ (FOR Process)  จะทำงานตามจำนวนรอบที่กำหนดโดยเริ่มจากรอบที่เริ่มต้นไปจนถึงรอบสุดท้าย  ตามปกติจะเพิ่มค่าของรอบไป 1 ค่า  เมื่อทำงานครบรอบหนึ่ง ๆ

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

Algorithm



Algorithm


                     Algorithm คือ กระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถอธิบายออกมาเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร  กระบวนการนี้ประกอบด้วยจะประกอบด้วย วิธีการเป็นขั้นๆ และมีส่วนที่ต้องทำแบบวนซำอีก จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงาน 

Algorithm ไม่ใช่คำตอบแต่เป็นชุดคำสั่งที่ทำให้ได้คำตอบ วิธีการในการอธิบาย Algorithm ได้แก่
1. Natural Language อธิบายแบบใช้ภาษาที่เราสื่อสารกันทั่วไป
2.Pseudocode อธิบายด้วยรหัสจำลองหรือรหัสเทียม
3.Flowchart อธิบายด้วยแผนผัง



ขั้นตอนการทำงานในผังงานโครงสร้าง   สามารถแบ่งได้เป็น  รูปแบบคือ

1.  การทำงานแบบเป็นลำดับ (Sequence  Process)   จะทำงานตามการเรียงลำดับก่อนหลัง


2.  การทำงานแบบเลือกทำ (Selection  Process) จะทำงานแบบให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง   เท่านั้น  สามารถพิจารณาได้  กรณี  คือ

การทำงานแบบเลือกทำ  1 ทาง  คือ จะทำงานเฉพาะเงื่อนไขที่เป็นจริงเท่านั้น

การทำงานแบบเลือกทำ 2 ทาง  คือ จะทำงานจากการพิจารณาเงื่อนไขที่เป็นจริงและเป็นเท็จโดยให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

.   การทำงานแบบเลือกทำได้หลายทาง  คือ  จะทำงานจากการพิจารณาเงื่อนไขต่างๆที่มากกว่า  ทาง  โดยให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

3.  การทำงานแบบทำซ้ำในขณะที่เงื่อนไขเป็นจริง (WHILE-DO  Process)  จะทำการตรวจสอบเงื่อนไขของการทำงานก่อนการทำงานทุกครั้ง  และจะทำงานเฉพาะเมื่อเงื่อนไขที่เป็นจริงเท่านั้น

4.  การทำงานแบบทำซ้ำจนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง ( DO-UNTIL หรือ  REPEAT-UNTIL Process)  จะทำงานตามที่ระบุก่อนการตรวจสอบเงื่อนไขของการทำงานและจะทำงานจนกระทั่งเงื่อนไขของการทำงานเป็นจริง

5.  การทำงานแบบทำซ้ำตามจำนวนรอบที่ระบุ (FOR Process)  จะทำงานตามจำนวนรอบที่กำหนดโดยเริ่มจากรอบที่เริ่มต้นไปจนถึงรอบสุดท้าย  ตามปกติจะเพิ่มค่าของรอบไป 1 ค่า  เมื่อทำงานครบรอบหนึ่ง ๆ





ดูบทเรียนเพิ่มเติมได้ที่นี่